ก
ก
ก
TH
คำถามที่พบบ่อย
อยากทราบว่า ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ส. มีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ : ตามระเบียบ ช.พ.ส. พ.ศ. 2561
ข้อ 8 ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ส. หมายถึง บุคคลตามลำดับ ดังนี้
(6) คู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส. ที่ระบุไว้ในใบสมัคร
(7) บุตรของสมาชิก ช.พ.ส. และบุตรของคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส.รวมทั้งบุตรบุญธรรม
(8) บิดามารดาของสมาชิก ช.พ.ส. และบิดามารดาของคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส.
(9) ผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรสมาชิก ช.พ.ส. และผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรของคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส.
(10) ผู้อุปการะสมาชิก ช.พ.ส.
อยากทราบว่า ถ้าสมาชิก ช.พ.ส. จดทะเบียนหย่ากับคู่สมรสที่ระบุไว้ในใบสมัคร จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ :
1. ต้องแจ้งขอดำรงสมาชิกภาพ ช.พ.ส. กรณีหย่า ภายใน 60 วัน ณ สำนักงาน สกสค.จังหวัดที่สมาชิกสังกัดนั้น ๆ
2. กรณีขอดำรงฯ เกิน 60 วัน ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียม จำนวน 650 บาท
3. สามารถระบุมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวได้ โดยจะระบุให้คู่สมรสที่หย่าขาดจากกันหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน ตามข้อ 8(2) และหรือข้อ 8(3) เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวก็ได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว จึงให้ระบุบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน ตามข้อ 8(4) เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว
* กรณีไม่มีบุคคล 8(2) - 8(4) จึงจะระบุบุคคลตามข้อ 8(5) คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว
กรณีสมาชิกเกษียณอายุราชการ ต้องให้สมาชิกดำเนินการอย่างไรบ้าง
ตอบ :
1. กรณีหน่วยงานของท่านมีหน่วยหักเก็บเงิน ณ ที่จ่าย สำหรับข้าราชการบำนาญที่เกษียณแล้ว ไม่ต้องแจ้งอะไรเพิ่มเติม ยกเว้นเปลี่ยนแปลงที่อยู่, ชื่อ-สกุล หรือต้องการแสดงเจตนาระบุตัวผู้สิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ค. - ช.พ.ส. ให้สมาชิกติดต่อ ณ สำนักงาน สกสค. ที่ท่านสังกัด
2. กรณีหน่วยงานของท่านไม่มีหน่วยงานหักเก็บเงิน ณ ที่จ่าย สำหรับข้าราชการบำนาญที่เกษียณแล้ว ให้สมาชิกติดต่อแจ้งเปลี่ยนแปลงการชำระเงิน ณ สำนักงาน สกสค. ที่ท่านสังกัด
อยากทราบว่ากรณีสมาชิก ช.พ.ส. ที่ถึงแก่ความตายไม่ได้มีการระบุผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว จะจ่ายให้แก่ใครอย่างไร
ตอบ : จ่ายเงินสงเคราะห์ตามระเบียบฯ ข้อ 8
ข้อ 8 ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ส. หมายถึง บุคคลตามลำดับ ดังนี้
(1) คู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส. ที่ระบุไว้ในใบสมัคร
(2) บุตรของสมาชิก ช.พ.ส. และบุตรของคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส.รวมทั้งบุตรบุญธรรม
(3) บิดามารดาของสมาชิก ช.พ.ส. และบิดามารดาของคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส.
(4) ผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรสมาชิก ช.พ.ส. และผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรของคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส.
(5) ผู้อุปการะสมาชิก ช.พ.ส.
อยากทราบว่ากรณีสมาชิก ช.พ.ส. ที่ถึงแก่ความตายที่มีการระบุผู้มีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว จะจ่ายให้แก่ใคร อย่างไร
ตอบ : จ่ายให้ผู้ถูกระบุฯ ที่เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวคนละหนึ่งส่วนเท่าๆกัน
หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ส. ที่ถึงแก่ความตาย ปัจจุบันประมาณ 270,000 บาท และวิธีการจ่ายอย่างไร
ตอบ :
1. ให้ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ได้แก่ บุคคลในครอบครัวตามข้อ 8 หรือข้อ 20 แห่งระเบียบ ช.พ.ส. เป็นผู้ยื่นแบบคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ตามแบบ ฌส.15
2. เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นแบบขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ส.
2.1 แบบคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ตามแบบ ฌส.15
2.2 ใบสำคัญการสมรส
2.3 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
2.4 หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มรณบัตรของคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส. (กรณีถึงแก่ความตายไปก่อนสมาชิก ช.พ.ส.)
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้มีสิทธิรับเงินทุกคน
- หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเป็นบุตรนอกสมรสที่บิดารับรองแล้ว หรือทะเบียนการ รับรองบุตรบุญธรรมของสมาชิก ช.พ.ส. หรือคู่สมรสของสมาชิก ช.พ.ส.
- มรณบัตรของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ส. ที่ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว
หมายเหตุ : กรณีผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวรายใด ถึงความตายก่อนได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ให้ถือว่าเงินสงเคราะห์ส่วนที่บุคคลผู้นั้นจะได้รับเป็นทรัพย์มรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3. การจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัว โดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีหรือจ่ายเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้มีสิทธิรับเงิน
อยากทรามว่าวิธีการขอรับเงินค่าจัดการศพ จำนวน 100,000 บาท กรณีสมาชิก ช.พ.ส. ถึงแก่ความตาย ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง และยื่นขอรับเงินได้ที่ใด วิธีการจ่ายอย่างไร
ตอบ :
1. หลักฐานประกอบการยื่นเพื่อขอรับเงินค่าจัดการศพ ดังนี้
(1) ให้ผู้จัดการศพยื่นแบบขอรับเงินค่าจัดการศพ (ฌส.14)
(2) สำเนามรณบัตรของสมาชิก ช.พ.ส. ที่ถึงแก่ความตาย หรือ สำเนาคำสั่งศาล สำหรับกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สมาชิก ช.พ.ค. เป็นคนสาบสูญ (พร้อมฉบับจริง)
(3) แบบรับรองการเป็นผู้จัดการศพ (ฌส.12)
(4) สำเนาใบสำคัญการสมรส
*สำเนาเอกสารหลักฐานให้ผู้ยื่นขอรับเงินค่าจัดการศพลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ*
หมายเหตุ : กรณีที่ผู้จัดการศพไม่อาจมายื่นขอรับเงินค่าจัดการศพด้วยตนเอง ให้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นแทนได้ แต่สำนักงานจะจ่ายเงินให้แก่ผู้จัดการศพเท่านั้น โดยให้ผู้รับมอบอำนาจแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ ทั้งของผู้มอบอำนาจและของผู้รับมอบอำนาจต่อเจ้าหน้าที่
2. ให้ผู้จัดการศพยื่นขอรับเงินค่าจัดการศพต่อสำนักงาน สกสค. จังหวัด ซึ่งสมาชิก ช.พ.ส.ที่ถึงแก่ความตายสังกัด
3. การจ่ายเงินค่าจัดการศพ สำนักงาน สกสค.จังหวัด จะจ่ายโดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีหรือจ่ายเป็นเช็คสั่งจ่ายในนามผู้จัดการศพเท่านั้น
อยากทราบว่ากรณีสมาชิก ช.พ.ค. ที่ถึงแก่ความตายมิได้ทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ค. ไว้ให้แก่ผู้ใด หรือไม่ได้ระบุผู้มีสิทธิรับเงินไว้ จะจ่ายให้แก่ใคร อย่างไร
ตอบ : กรณีที่สมาชิก ช.พ.ค. ไม่ได้ระบุผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว จะจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัวให้แก่บุคคลในครอบครัวของสมาชิกตามข้อ 8 แห่งระเบียบ ช.พ.ค. พ.ศ. 2561
โดยแบ่งจ่ายดังนี้
1. กรณีสมาชิก ช.พ.ค. มีคู่สมรส และมีบุตรไม่เกินสองคน เงินสงเคราะห์ครอบครัวแบ่งออกเป็นสองส่วน ให้เป็นของคู่สมรสหนึ่งส่วน และเป็นของบุตรหนึ่งส่วน
2. กรณีสมาชิก ช.พ.ค. มีคู่สมรส และมีบุตรเกินกว่าสองคน เงินสงเคราะห์ครอบครัวแบ่งออกเป็นสามส่วน เป็นของบุตรสองส่วน
3. กรณีสมาชิก ช.พ.ค. มีคู่สมรส และมีบุตรไม่เกินเกินกว่าสองคน และมีบิดามารดา เงินสงเคราะห์ครอบครัวแบ่งออกเป็นสองส่วน ให้เป็นของคู่สมรสหนึ่งส่วน เป็นของบิดามารดาและบุตรหนึ่งส่วน
4. กรณีสมาชิก ช.พ.ค. มีคู่สมรส และมีบุตรเกินกว่าสองคน และมีบิดามารดา เงินสงเคราะห์ครอบครัวแบ่งออกเป็นสามส่วน ให้เป็นของคู่สมรสหนึ่งส่วน เป็นของบิดามารดาและบุตร สองส่วน
5. กรณีสมาชิก ช.พ.ค. มีคู่สมรสและมีบิดามารดา เงินสงเคราะห์ครอบครัวแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ให้เป็นของคู่สมรสสามส่วน เป็นของบิดามารดาหนึ่งส่วน
6. กรณีสมาชิก ช.พ.ค. มีบุตร และมีบิดามารดา เงินสงเคราะห์ครอบครัว แบ่งออกเป็นห้าส่วนให้เป็นของบุตรสี่ส่วน ให้เป็นของบิดามารดาหนึ่งส่วน
7. ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเป็นผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตร ให้เงินสงเคราะห์ครอบครัวทั้งหมดตกเป็นของผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตร หากมีผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรหลายคน ให้ได้รับส่วนแบ่งคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน
8. ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเป็นผู้อุปการะ ให้เงินสงเคราะห์ครอบครัวทั้งหมด ตกเป็นของผู้อุปการะ หากมีผู้อุปการะหลายคนให้ได้รับส่วนแบ่งคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน
หมายเหตุ : เงินส่วนแบ่งในส่วนของบุตร รวมทั้งในส่วนของบิดามารดาและบุตร ทุกกรณีให้แบ่ง
ดังต่อไปนี้
(1) เงินส่วนแบ่งในส่วนของบุตร ให้บุตรได้รับส่วนแบ่งคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ยังคงศึกษาอยู่และมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี ให้ได้รับคนละสองส่วน
(2) เงินส่วนแบ่งในส่วนของบิดามารดาและบุตรให้บิดามารดาและบุตรได้รับส่วนแบ่งคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆกัน เว้นแต่บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ยังคงศึกษาอยู่และมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี ให้ได้รับคนละสองส่วน
อยากทราบว่าวิธีการขอรับเงินค่าจัดการศพจำนวน 200,000 บาท และเงินสงเคราะห์ครอบครัว 700,000 บาท กรณีสมาชิก ช.พ.ค. ถึงแก่ความตาย ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง และยื่นขอรับเงินได้ที่ใด วิธีการจ่ายเป็นอย่างไร"
ตอบ :
1.ให้ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ได้แก่ บุคคลในครอบครัวตามข้อ 8 หรือข้อ 20 แห่งระเบียบ ช.พ.ค. เป็นผู้ยื่นแบบคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ตามแบบ ฌค. 8
2. เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นแบบขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ค.
ส่วนของสมาชิก
2.1 แบบคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ตามแบบ ฌค. 8 ฉบับจริง
2.2 ใบมรณบัตรฉบับจริง พร้อมสำเนา 3 ฉบับ
2.3 สำเนาทะเบียนบ้านของสมาชิกฉบับจำหน่ายตาย 2 ฉบับ
2.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการของสมาชิก 1 ฉบับ
2.5 ใบสำคัญการสมรสสมาชิก (ฉบับจริง) พร้อมสำเนา หรือสำเนาทะเบียนการสมรสที่คัดจากกรมการปกครอง หรือ ทะเบียนหย่าของสมาชิก(กรณีหย่า) และใบมรณบัตรของคู่สมรส(กรณีเสียชีวิตแล้ว) จำนวน 1 ฉบับ
2.6 หลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของสมาชิก 2 ฉบับ ***กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-สกุล***
- สำเนาทะเบียนการรับรองบุตร 1 ฉบับ ***กรณีสมาชิกที่เป็นผู้ชายมีภรรยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน***
ส่วนของทายาทผู้มีสิทธิรับเงิน
2.7 สำเนาทะเบียนบ้านทายาทผู้มีสิทธิรับเงิน คนละ 2 ฉบับ
2.8 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการทายาทฯ ผู้จัดการศพ 3 ฉบับ (ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินคนละ 2 ฉบับ)
2.9 สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยประเภทออมทรัพย์ของทายาทฯ คนละ 2 ฉบับ (ผู้จัดการศพ 3 ฉบับ)
2.10 หลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า ***ถ้ามี*** (กรณีทายาทเป็นผู้หญิง จดทะเบียนสมรสแล้ว ขอใช้นางสาวหรือสกุลเดิมต้องแนบคำขอใช้ด้วย คนละ 1 ฉบับ)
- สำเนาหลักฐานการเสียชีวิตของบิดามารดาของสมาชิก ***กรณีบิดามารดาเสียชีวิตไปก่อนสมาชิก 1 ฉบับ***
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล ของทายาทฯ คนละ 1 ฉบับ ***กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-สกุล****
- สำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ***ถ้ามี***
3. การจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัว โดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีหรือจ่ายเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้มีสิทธิรับเงิน
ทายาทของสมาชิกจะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเมื่อใด
ตอบ :
1. ในกรณีที่ไม่มีการกู้เงินจะได้รับเงินหลังจากประกาศรายชื่อผู้ถึงแก่ความตายประมาณ 3 เดือน
2. ในกรณีที่มีภาระผูกพันเงินกู้กับธนาคารจะได้รับเมื่อธนาคารตรวจสอบการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว
สิทธิประโยชน์ที่ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ส. จะได้รับเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายอะไรบ้าง
ตอบ :
1. เงินค่าจัดการศพ จำนวน 100,000 บาท
2. เงินสงเคราะห์ครอบครัว ประมาณ 270,000 บาท
สิทธิประโยชน์ที่ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ค. จะได้รับเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายอะไรบ้าง
ตอบ :
1. จ่ายเงินค่าจัดการศพ จำนวน 200,000 บาท
2. เงินสงเคราะห์ครอบครัวประมาณ 700,000 บาท
การจัดสวัสดิการโครงการสวัสดิการ ๔๐/๗๕ คืออะไร มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง และวิธีการจ่ายเงิน ให้แก่ครอบครัวสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการอย่างไร กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย
ตอบ : 1. คือโครงการสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยมีหลักเกณฑ์กำหนดให้สมาชิกที่มีอายุการเป็นสมาชิก ช.พ.ค. – ช.พ.ส. 40 ปีขึ้นไป หรือสมาชิก ช.พ.ค. – ช.พ.ส. ที่มีอายุตัว 75 ปีขึ้นไป และชำระเงินสงเคราะห์รายศพเป็นปัจจุบัน
2. สำนักงาน สกสค. จะสำรองจ่ายเงินสงเคราะห์รายศพแทนสมาชิกที่ได้รับสวัสดิการเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย สำนักงานจะหักกับเงินสงเคราะห์ครอบครัวสมาชิก ช.พ.ค. หรือสมาชิก ช.พ.ส. ที่สำรองจ่ายแทนไป โดยไม่คิดดอกเบี้ย
หมายเหตุ : สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอเข้าโครงการสวัสดิการ 40/75 ได้ที่เว็บไซต์กิจการ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. https://www.otep.go.th/teachers-association-forms
อยากทราบว่ากรณีสมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส. เปลี่ยนแปลงชื่อ - ชื่อสกุล หรือ เปลี่ยนแปลงประวัติส่วนตัว เช่น ย้ายที่อยู่หรือสถานที่ชำระเงินต้องทำอย่างไรบ้าง
ตอบ : สมาชิก ช.พ.ค. – ช.พ.ส. ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลง หรือแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือสถานที่ชำระเงินให้หน่วยงานต้นสังกัดเดิมทราบ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของสมาชิก และข้อมูลประวัติสมาชิกเป็นปัจจุบัน
อยากทราบว่าเมื่อสมาชิกถูกถอนชื่อออกจากการเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. สามารถสมัครใหม่ได้หรือไม่
ตอบ : สมัครใหม่ไม่ได้ ยกเว้นกรณีที่มีการเปิดรับสมัครสมาชิกเป็นกรณีพิเศษ ตามที่คณะกรรมการกำหนดอนุญาตให้ผู้ที่ถูกถอนชื่อสมัครใหม่ได้ แต่ตามระเบียบปกติหากถูกถอนชื่อแล้วสามารถทำเรื่องขอกลับเข้าเป็นสมาชิกได้ตามเดิม
การขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส จะมีผลต่อการเป็นสมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส โดยสมบูรณ์เมื่อใด
ตอบ : 1. กรณีผู้ที่ถูกถอนชื่อและค้างชำระเงินสงเคราะห์รายศพไม่เกินห้าปี ทำเรื่องขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. จะมีผลเมื่อประธานกรรมการ ช.พ.ค. - ช.พ.ส. อนุมัติให้กลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส ผู้นั้นจึงจะเป็นสมาชิก ช.พ.ค. โดยสมบูรณ์
2. กรณีผู้ที่ถูกถอนชื่อและค้างชำระเงินสงเคราะห์รายศพเกินกว่าห้าปี ทำเรื่องขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. จะมีผลเมื่อคณะกรรมการ ช.พ.ค. - ช.พ.ส. อนุมัติให้กลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส.
การขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ : 1. ยื่นแบบคำขอกลับเข้าเป็นสมาชิกด้วยตนเอง ที่สำนักงาน สกสค. ที่ต้นสังกัด
2. ชำระเงินสงเคราะห์รายศพที่ค้างชำระให้เป็นปัจจุบัน และค่าธรรมเนียม
3. เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว สำนักงาน สกสค. จังหวัดจะมีหนังสือแจ้งให้สมาชิกทราบ
หมายเหตุ : สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. – ช.พ.ส. ได้ที่เว็บไซต์กิจการ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. https://www.otep.go.th/teachers-association-forms
กรณีสมาชิกมีความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. จะต้องทำอย่างไรบ้างและได้เงินคืนหรือไม่
ตอบ : 1. ยื่นแบบการขอลาออกพร้อมทั้งหลักฐาน ด้วยตนเอง ณ สำนักงาน สกสค. จังหวัดที่ท่านสังกัด
2. สมาชิกชำระเงินค่าสงเคราะห์รายศพเป็นปัจจุบัน
3. การขอลาออกจากการเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. สมาชิกจะต้องไม่มีภาระผูกพันเงินกู้โครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. - ช.พ.ส. ยกเว้นสมาชิกได้ชำระปิดหนี้เรียบร้อยแล้ว
4. สมาชิกจะได้รับเงินสงเคราะห์ล่วงหน้าคืน
หมายเหตุ : 1. กรณีสมาชิกขอลาออกจากการเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. จะไม่มีสิทธิสมัครใหม่ หรือขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิก ช.พ.ค. ได้อีก ยกเว้น กรณีมีการเปิดรับสมัครสมาชิกกรณีพิเศษ และคณะกรรมการได้กำหนดอนุญาตให้มีการรับผู้ที่ลาออกมาสมัครใหม่ได้เท่านั้น
2. สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. – ช.พ.ส. ได้ที่เว็บไซต์กิจการ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. https://www.otep.go.th/teachers-association-forms
อยากทราบว่าสามารถระบุผู้มีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ช.พ.ค. ให้ใครบ้าง
ตอบ : ระบุสิทธิให้ผู้ใดก็ได้ โดยสมาชิกระบุความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเป็นไปตามระเบียบ ช.พ.ค. ข้อ 8 ดังนี้
“ข้อ 8 ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ค. หมายถึง บุคคลตามลำดับ ดังนี้
(1) คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม บุตรนอกสมรสที่บิดาจดทะเบียนรับรองแล้ว และบิดามารดาของสมาชิก ช.พ.ค.
(2) ผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรของสมาชิก ช.พ.ค.
(3) ผู้อุปการะสมาชิก ช.พ.ค.
ตรวจสอบสถานะการเป็นสมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส หรือตรวจสอบการชำระเงินได้ด้วยวิธีใดบ้าง
ตอบ : 1. ตรวจสอบข้อมูลผ่านเว็บไซต์กิจการ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. https://cpkscheck.otep.go.th/ เลือก สมาชิก ช.พ.ค./สมาชิก ช.พ.ส. และกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน
2. สำนักงาน สกสค. ที่ท่านสังกัดอยู่
สมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส. สามารถชำระเงินสงเคราะห์รายศพโดยวิธีใดได้บ้าง
ตอบ : 1. หักเงินเดือนหรือรายได้ ณ ที่จ่าย (กรณีที่ต้นสังกัดหน่วยงานของท่านมีหน่วยหักเงิน)
2. ชำระด้วยตนเอง (กรณีหน่วยงานของท่านไม่มีหน่วยหักเงิน)
3. หักผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีหน่วยงานของท่านไม่มีหน่วยหักเงิน)
อยากทราบว่าสมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส ต้องชำระเงินสงเคราะห์งานศพ ศพละเท่าไหร่ และต้องชำระเงินสงเคราะห์รายศพอย่างไรบ้าง
ตอบ : รายศพละ 1 บาท สมาชิกจะต้องชำระเงินสงเคราะห์รายศพให้แก่ทายาทเพื่อนสมาชิกที่ถึงแก่ความตายทุกๆ เดือน
สิทธิในการเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส เริ่มมีผลตั้งแต่เมื่อไหร่
ตอบ : สิทธิการเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. นับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่รับใบสมัครและได้รับชำระเงินค่าสมัคร เงินสงเคราะห์ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งคุณสมบัติครบถ้วนเป็นไปตามระเบียบ ช.พ.ค. ที่กำหนด
อยากทราบว่าอัตราการชำระเงินในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค - ช.พ.ส. เท่าไหร่
ตอบ : อัตราการชำระเงินค่าสมัครและเงินสงเคราะห์ล่วงหน้า ดังนี้
1. สมัครเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. ค่าสมัคร 50 บาท เงินสงเคราะห์ล่วงหน้า 1,000 บาท
2. สมัครเช้าเป็นสมาชิก ช.พ.ส. ค่าสมัคร 50 บาท เงินสงเคราะห์ล่วงหน้า 600 บาท
หมายเหตุ : เงินสงเคราะห์ล่วงหน้า เพื่อสำรองไว้เป็นค่าจัดการศพและจะคืนให้เท่าที่สมาชิก ช.พ.ค. ผู้นั้นไม่ตกอยู่ภายใต้ความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินสงเคราะห์ตามที่จ่ายไว้ล่วงหน้า
ต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และสมัครได้ที่ใดบ้าง
ตอบ :
1. ผู้ที่สมัครสมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ และดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
(1) ครู
(2) คณาจารย์
(3) ผู้บริหารสถานศึกษา
(4) ผู้บริหารการศึกษา
(5) บุคลากรทางการศึกษาอื่น
(6) ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
(7) สมาชิกคุรุสภา (เป็นสมาชิกคุรุสภาก่อนวันที่ 12 มิ.ย. 2546)
2. สมัครสมาชิก ช.พ.ค. – ช.พ.ส. ด้วยตนเอง ณ สำนักงาน สกสค จังหวัด ที่ท่านสังกัด
หมายเหตุ : ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562
อยากทราบว่า ช.พ.ค. และ ช.พ.ส. หมายความว่าอย่างไร
ตอบ :
1. ช.พ.ค. หมายความว่า การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. ช.พ.ส. หมายความว่า การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีคู่สมรสถึงแก่ความตาย